อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง







ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้ จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้

ตัวโบราณสถาน ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร จากพื้นราบ คำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "ภูเขาใหญ่" ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพังสามชั้น ผ่านขึ้นมาสู่ พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานาง เรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมี สะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน หรือส่วนที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรง ศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่างๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวะ นาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและ รายละเอียดอื่นๆ ช่วยให้ กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและ สะพานนาคราช สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17
ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทาง ศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบันทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้น ก่อนปรางค์ประธาน มีอายุ ในราวพุทธศตวรรษที่ 16
นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธานและที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลา ที่สร้างด้วยศิลาแลง ข้างทางเดินที่เรียกว่า "โรงช้างเผือก"


นารายณ์บรรทมสินธุ์ หรือ วิษณุอนันตศายินปัทมนาคิน แสดงภาระกิตพระวิษณุเกี่ยวกับการกำเนิดของโลกและจักรวาล พระวิษณุประทับนิทราบนพระยานาคในเกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) หลังจากที่โลกถูกทำลายลงเมื่อสิ้นกัลป์ พระลักษมีประทับอยู่ที่เบื้องพระบาท มีดอกบัวผุดขึ้นมาจากพระนาภี (สะดือ) ของพระนารายณ์มีพระพรหม ผู้สร้างโลกและสรรพชีวิตประทับอยู่

วามนาวตารหรือ นารายณ์ตรีวิกรม อวตารพระวิษณุเพื่อปลดปล่อยโลกทั้งสามจากอำนาจของอสูรพลี พระวิษณุอวตารเป็นพราหม์ชื่อ วามน เข้าร่วมพิธีบูชายัญม้าของอสูรพลีและร่ายมนต์สะกดอสูรพลีไว้ อสูรพลีสัญญาจะให้ทุกสิ่งที่ต้องการพราหมณ์วามนได้ของแผ่นดินเพียงสามก้าวย่างและเนรมิตร่างกายจนใหญ่โต ก้าวย่างเพียงสามก้าวก็ได้อาณาเขตโลกทั้งสาม



ศิวนาฏราช คือ พระศิวะทรงฟ้อนรำเชื่อกันว่าการฟ้อนรำของพระองค์เป็นการสร้าการทำลายโบกไปพร้อมกันหากพระองค์ ฟ้อนรำด้วยท่วงทำนองที่พอดีโลกก็จะอยู่ด้วยความสงบสุข แต่หากทรงฟ้อนรำด้วยจังหวะที่ร้อนแรงก็จำทำให้โลกต้องพบกับภัยพิบัติถึงขั้นทำลายโลกให้พินาศลงได้ ในภาพนี้เป็นการฟ้อนรำบนเขาไกรลาส พระศิวะมีสิบกรฟ้อนรำอยู่บนแท่น เหล่าเทพที่แวดล้อมอยู่เบื้องหน้าประกอบด้วยพระกเณศ พระพรหม พระวิษณุ และหญิงหน้าตาดุร้ายทางเบื้องขวาน่าจะหมายถึงนางอุมา อีกคนหนึ่งน่าจะหมายถึง นางกาไลกา ลัมไมยาร์ สาวภผู้ภักดี


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น




แหล่งที่มา


1. http://school.obec.go.th/donyai/panomrung.htm


2. http://travel.sanook.com/northeast/burirum/burirum_02871.php


3. http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Buriram/data/place/hpk_phanomrung.htm


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง"

แสดงความคิดเห็น

ขำ ขำๆ

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น